เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมาย(Understanding Goal) : เห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหารประเภทต่างๆรวมทั้งอาหารประเภทเส้นและสามารถผลิตอาหารประเภทเส้นที่มีคุณค่าทางอาหารและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

Week1

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ สัปดาห์ที่1
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้พร้อมให้เหตุผลอ้างอิงได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
1

16-21
พฤษภาคม
2559
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Questions :
เหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง?
นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ในห้องเรียนของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู?
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงปิดเรียน
Card and Chart : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอสรุปสิ่งที่ได้จากคลิป
Think Pair Share : ตั้งชื่อหน่วย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
คุณครู
นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
เส้นชนิดต่างๆในห้องเรียน
คลิปรายการ อาหารจีนโอชารส ตอนที่ 6 รสชาติ
-  คลิปกบนอกกะลา ตอนกบเล่นเส้น
คลิปรายการเล่าเส้นเป็นเรื่อง
เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียน
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
 ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
เหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง?
นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ในห้องเรียนของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
- ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนจากคำถาม
เชื่อม
 - นักเรียนดูคลิปรายการ อาหารจีนโอชารส
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคลิปรายการ อาหารจีนโอชารส  ที่ได้ดู นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู ผ่านเครื่องมือคิด  Round Robin
ใช้
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากคลิปรายการ อาหารจีนโอชารส
รายบุคคลลงบนกระดาษ A4

วันอังคาร (2ชั่วโมง)
ชง
 นักเรียนดูคลิปกบนอกกะลา ตอนกบเล่นเส้น และคลิปรายการเล่าเส้นเป็นเรื่อง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดเห็นอย่างไร?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามใน ขั้นชง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้เพราะเหตุใด
เชื่อม
- นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนลงในกระดาษครึ่งA4
นำเสนอแลกเปลี่ยนให้ครูและเพื่อนๆฟัง
- นักเรียนสรุปเรื่องที่อยากเรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Black Board Share
วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  “นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ให้น่าสนใจและเป็นการเรียนรู้จากปัญหาว่าอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น?”
เชื่อม
นักเรียนนำเสนอชื่อหน่วย ให้ครูและเพื่อนๆฟัง
จากนั้นจับคู่แลกเปลี่ยนชื่อหน่วยและเขียนชื่อใหม่ที่ทั้งมาจากการคิดร่วมกันของทั้งสองคน  สุดท้ายนำชื่อหน่วยแต่ละคู่มาระดมความคิดตั้งชื่อหน่วยที่ทุกคนทั้งห้องเห็นด้วยและพอใจ 1 ชื่อ ผ่านเครื่องมือคิด Think Pair Share
ใช้
  นักเรียนจับคู่ออกแบบป้ายชื่อโครงงานให้น่าสนใจและสอดคล้องกับโครงงานที่เรียนเพื่อใช้ในการตกแต่งบรรยากาศในชั้นเรียน

วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีความเข้าใจอะไรเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นและอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้?”
ใช้
นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น (รายบุคคลลงกระดาษ A4)
วันศุกร์ (3ชั่วโมง)
เชื่อม
นักเรียนจับคู่ ครูแจกสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ที่แต่ละคนเขียนไว้ให้แต่ละคู่ช่วยกันดู (สิ่งที่เหมือนกันเลือกเพียงข้อเดียว สิ่งที่แตกต่างยกมาทั้งหมด)
ใช้
นักเรียนช่วยกันเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
(แผ่นใหญ่)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
- ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามในขั้นชง
-  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1
ภาระงาน
- ดูคลิปวีดีโอรายการต่างๆ
- การสนทนาตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง
การสำรวจ สังเกตห้องเรียน
- การแสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
- การระดมสมองเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้และตั้งชื่อหน่วย
- การเขียนสิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
- การสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้จากคลิปกบนอกกะลา ตอน ก๋วยเตี๋ยว
- เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเรื่องที่อยากเรียนต่อตนเองและสิ่งรอบตัวได้
 ทักษะการสื่อสาร
- พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
- พูดนำเสนอสิ่งที่ได้จากการดูคลิปและเรื่องที่อยากเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการดูคลิปเพื่อเขียนสรุปความเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่นInternet ผู้รู้ ห้องสมุดได้

คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น



ภาพกิจกรรม












ภาพชิ้นงาน






สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์แรกของการเปิดภาคเรียน ทั้งเด็กๆก็ตื่นเต้นที่ได้เจอเพื่อนมีเรื่องราวต่างๆมากมายที่ได้ทำในช่วงปิดเทอมมาเล่าสู่กันฟัง ทำให้ได้ยินเสียงเจื้อยแจ้วเจรจาอยู่เป็นครั้งคราว ไม่ใช่แค่เด็กๆเท่านั้นที่ตื่นเต้นตัวคุณครูเองก็ตื่นเต้นอยู่ไม่น้อยเช่นกัน
    คุณครูเริ่มต้นสร้างแรงบันดาลใจด้วยการให้พี่ๆชิมเส้นต่างๆ เมื่อคุณครูนำตระกล้าที่มีเส้นชนิดต่างๆอยู่ในเต็มตระกล้า พี่ออโต้ : ครูครับเอามาให้ชิมใช่ไหมครับ พี่มุก(อุษ) : ขอชิมมาม่าก่อนเลยนะคะ หลังจากชิมเส้นต่างๆ พี่ได้ข้อสรุปตรงกันว่าเส้นมาม่าอร่อยที่สุดเลยค่ะ/ครับ คุณครูใช้คำถามกระตุ้นคิดว่า “เพราะเหตุใดเส้นต่างๆจึงมีรสชาติต่างกัน?” พี่มายด์ : ตอนที่ทำเขามีการปรุงรสด้วยเครื่องปรุงต่างๆค่ะ พี่นิวหญิง : ครูค่ะทำไมบางเส้นเป็นกลมๆแล้วที่แบนเรียกว่าเส้นไหมคะ พี่อาย : ครูครับทำไมเส้นที่เรากินมันแข็งๆแล้วทำไมขนมจีนมันนิ่มๆครับ จากคำถามมากมายของเด็กๆทำให้เกิดการเรียนรู้และแรกเปลี่ยนกันอย่างสนุกสาน หลังจากชิมเส้นต่างๆและอภิปรายแลกเปลี่ยนกันแล้วเด็กๆมีต้องตามล่าเส้นด้วยการแบ่งกลุ่มหาเส้นที่รู้จักให้ได้มากที่สุด พี่ภัทร : ครูครับถ้ามาม่าแบ่งตามรสชาติได้ไหมครับ เมื่อแบ่งกลุ่มย่อยเด็กๆต่างระดมความคิดช่วยกันว่าเส้นที่ตนรู้จักมีอะไรบ้าง หลายคนสงสัยว่าอาหารประเภทเส้นนี้เป็นอย่างไรกันแน่ แผ่นแหนมเนืองที่เคยเห็นใช่เส้นหรือไม่ แล้วผลไม้ที่หั่นเป็นเส้นๆใช่อาหารประเภทเส้นไหม จากนั้นแต่ละกลุ่มจึงนำเส้นของแต่ละกลุ่มมาแลกเปลี่ยนกัน ( Black Board Share ) เส้นต่างๆมากมายกระจัดกระจายอยู่บนกระดานเด็กๆมองภาพไม่ออกว่าจะจัดหมวดหมู่อย่างไร คุณครูจึงให้พี่ๆป.6 จัดหมวดหมู่เส้นที่อยู่บนกระดานด้วยเกณฑ์ของตนเอง พี่ๆสามารถจัดหมวดหมู่ออกเป็นเกณฑ์ต่างๆดังนี้ อาหารคาว – อาหารหวาน, สำเร็จรูป – กึ่งสำเร็จรูป, เส้นตรง – แผ่น – เส้นหยัก และแบ่งตามสีต่างๆของเส้น
    เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดเจตจำนงในการเรียนรู้ครูดอกไม้จึงให้พี่ๆดูคลิป VDO เกี่ยวกับแหล่งที่มาและเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่ซ้อนอยู่ภายใต้รสชาติต่างๆของอาหาร พี่ออโต้ : ครูครับอาหารทำไมน่ากินจังเลยครับอีก15 นาทีกว่าจะเที่ยงผมหิวข้าวจนท้องร้องแล้วครับ หลังจากดูคลิปพี่ๆจึงได้วิเคราะห์ว่า “รสชาติบอกอะไร” ผ่านเครื่องมือคิด Place Mat
    พี่ๆเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart เกือบ 90%ของห้องอยากเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น มีบางที่อยากเรียนเรื่องอื่น เช่น ลำธาร, รบปฏิบัติการ IOS ฯลฯ

    ตอบลบ