เป้าหมาย (Understanding Goal)

เป้าหมาย(Understanding Goal) : เห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหารประเภทต่างๆรวมทั้งอาหารประเภทเส้นและสามารถผลิตอาหารประเภทเส้นที่มีคุณค่าทางอาหารและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

Week3

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ สัปดาห์ที่3
เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของอาหารประเภทเส้นแต่ละประเทศได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
3
30 พฤษภาคม
-
4 มิถุนายน
2559
โจทย์ : อาหารประเภทเส้น
Key Questions :
อาหารประเภทเส้นที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง?
อาหารประเภทเส้นในต่างประเทศเหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร?
อาหารประเภทเส้นที่นักเรียน สนใจคืออะไรและสิ่งที่นักเรียนสนใจมีขั้นตอนการทำอย่างไร?
ขนมจีนเป็นขนมจีนหรือขนมไทยและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวเราอย่างไร?
Flow chart : ขั้นตอนการทำอาหารประเภทเส้นและการทำเส้นขนมจีน
Mind Mapping :  เกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นในต่างประเทศเหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร
Show and Share : นำเสนอMind Mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
คุณครู
นักเรียน
- ผู้รู้
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ห้องสมุด
อินเทอร์เน็ต
บรรยากาศในห้องเรียน
กระดาษ ปรู๊ฟ /กระดาษ A4
วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนกิจกรรมในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทบทวนวิธีการทดลองทดสอบสารอาหารประเภทต่างๆพร้อมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยและความสมบูรณ์ของอุปกรณ์
ใช้
- นักเรียนลงมือทำการทดลองทดสอบสารอาหารและสรุปผลการทดลองออกมาเป็นการ์ตูนช่อง

วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด“อาหารประเภทเส้นที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น
นักเรียนจับคู่ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น นำเสนอสิ่งที่ได้มา เพื่อนแต่ละคู่เสนอเพิ่มเติมในส่วนที่ต่างกัน
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น ผ่านชาร์ตความรู้พร้อมทั้งนำเสนอ

วันพุธ (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด อาหารประเภทเส้นในต่างประเทศเหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร?, อาหารประเภทเส้นที่นักเรียน สนใจคืออะไรและมีขั้นตอนการทำอย่างไร?”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
นักเรียนเขียนอาหารประเภทเส้นที่สนใจ 1 อย่าง ลงในกระดาษขนาดครึ่งของครึ่ง A4
นำไปติดที่บอร์ด จากนั้นทุกคนช่วยกันจัดกลุ่มสิ่งที่เหมือนและต่างกัน ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart
นักเรียนแต่ละคนศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับขั้นตอนการทำอาหารประเภทเส้นที่ตนเองสนใจ
ใช้
ทำ Mind Mapping อาหารประเภทเส้นที่สนใจ

วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากการศึกษาข้อมูลนักเรียนคิดว่า
อาหารประเภทเส้นในต่างประเทศเหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถามในขั้นชง
ใช้
นักเรียนเขียนวิเคราะห์ความเหมือนและความต่างของอาหารประเภทเส้นในประเทศไทยและต่างประเทศ

วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ขนมจีนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวเราอย่างไร และมีขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน อย่างไร
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
เชื่อม
นักเรียนแต่ละคนศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน
ใช้
- ทำ Flow chart ขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน
ชง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  เส้นขนมจีนมีขั้นตอนการทำอย่างไร
เชื่อม
ครูสุ่มนักเรียน 2 คนนำเสนอ Flow chart ขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน ให้ครูและเพื่อนๆฟัง เพื่อนช่วยเพิ่มเติมในส่วนที่คิดต่าง
แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่ม วางแผนเตรียมทำเส้นขนมจีนในสัปดาห์หน้า
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามใน ขั้นชง
ใช้
-  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 3 ในรูปแบบของนิทาน
ภาระงาน
การศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น,ขั้นตอนการทำอาหารประเภทเส้น
การนำเสนอ Flow chart
การวิเคราะห์อาหารประเภทเส้นในประเทศไทยและต่างประเทศ
การวางแผน แบ่งหน้าที่ในการเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำเส้นขนมจีน
การเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำเส้นขนมจีนในสัปดาห์ที่ 4

ชิ้นงาน
- Mind Mapping เกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นที่สนใจ
- Flow chart เกี่ยวกับ ขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน
- ชาร์ตความรู้ อาหารประเภทเส้นทั่วโลก
การเขียนบรรยายวิเคราะห์อาหารประเภทเส้นในต่างประเทศเหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร
นิทานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของอาหารประเภทเส้นแต่ละประเทศได้ 
ทักษะ :
 ทักษะชีวิต
สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการนำมาทำเส้นขนมจีนได้
ออกแบบ วางแผนการทำเส้นขนมจีนได้
ใช้อุปกรณ์ในการทำงานและเก็บเข้าที่
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและนำเสนอเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการทำเส้นขนมจีนได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบ วางแผน ทำเส้นขนมจีนได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นได้

คุณลักษณะ
ส่งงานตรงเวลา
- มีความรับชอบในการเตรียม
อุปกรณ์ที่ตนเองได้รับมอบหมาย
มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น



ภาพกิจกรรม














ตัวอย่างชิ้นงาน













สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์









1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ฝนตกปรอยๆตลอดวันตั้งแต่ต้นสัปดาห์ สัปดาห์นี้พี่ๆเริ่มต้นด้วยการสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน ในการสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนในครั้งนี้คุณครูไม่ได้กำหนดรูปแบบพี่ๆสามารถออกแบบชินงานของตนเองได้ชิ้นงานจึงออกมาในรูปแบบที่หลากหลายเช่น Mind Mapping, การ์ตูนช่อง, Infographics ฯลฯ หลังจากสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนและนำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว พี่ป.6จึงได้จับฉลากแบ่งกลุ่มและรับโจทย์ที่แตกต่างกันเช่น บะหมี่, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ขนมจีนและก๋วยเตี๋ยว จากนั้นแต่ละกลุ่มจึงทำการสืบค้นข้อมูลและจัดกระทำออกมาในรูปแบบของชาร์ตความรู้ที่ให้เห็นTime line ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของที่มา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเส้นประเภทนั้นๆ การทำงานเป็นกลุ่มในครั้งนี้เห็นความเป็นทีมมากยิ่งขึ้นเพื่อนคนใดที่เล่นในขณะที่เป็นเวลาทำงานเพื่อนในกลุ่มก็จะคอยตักเตือนกัน จากนั้นแต่ละกลุ่มจึงได้นำเสนองานของตนเองจะเห็นได้ว่ากลุ่มที่ได้โจทย์เดียวกันจำนำเสนอข้อมูลคล้ายกันเกือบทั้งหมดนั้นอาจหมายถึงพี่ๆยังไม่มีการค้นคว้าข้อมูลที่มาจากหลายๆแหล่งแล้วนำมาจัดกระทำไหมข้อมูลที่ออกมาจึงเป็นเพียง Data เท่านั้น และการนำเสนอข้อมูลในครั้งนี้ยังเป็นเพียงการนำเสนอตามที่จดบันทึกมายังมีการคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงค่อนข้างน้อย เช่นกลุ่มที่จับฉลากได้บะหมี่ได้นำเสนอถึงที่มา,ประวัติ,วิธีการทำและขั้นตอนการทำเรียนร้อยแล้ว เพื่อนมีคำถามว่า “แป้งสาลีที่ใช้ทำบะหมี่ทำมาจากอะไร?” พี่ๆกลุ่มบะหมี่ก็หันหน้ามองกันไปมา พี่ภูพาน : ไม่ได้หามาครับว่าแป้งสาลีทำมาจากอะไร คุณครูจึงใช้คำถามกระตุ้นการคิดว่า “ถ้าให้ลองวิเคราะห์พี่ๆคิดว่าแป้งสาลีทำมาจากอะไรคะ?” พี่ออโต้ : ผมว่าน่าจะมาจากอะไรที่เกี่ยวกับคำว่าสาลีนี้หละครับเพราะแป้งข้างเจ้ายังทำมาจากข้าวเลยครับ พี่คิม : ใช่ข้าวสาลีที่ไว้ทำขนมปังไหมครับ และเมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนอคุณครูต้องใช้คำถามกระตุ้นทุกครั้งหลังจากที่พี่ๆนำเสนอเพื่อให้พี่ๆฝึกการคิดวิเคราะห์และฝึกคิดเชื่อมโยงให้มากยิ่งขึ้น
    ในวันพฤหัสบดีมีกาประชุมประจำสัปดาห์(PLC) ของคุณครูระดับประถมศึกษา ครูดอกไม้จึงได้นำเสนอถึงความคืบหน้าของแต่ละวิชาของพี่ๆป.6 และนำประเด็นที่พี่ๆป.6 ยังคิดเชื่อมโยงและคิดวิเคราะห์ได้ไม่ชัดเจนเข้าร่วมแชร์ในครั้งนี้ด้วย ครูแป้ง ได้ให้คำแนะนำว่าอาจจะต้องหาเครื่องมือและวิธีการใหม่ที่จะนำให้พี่ๆฝึกวิเคราะห์ให้ได้มากขึ้น ครูภร ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าต้องฝึกให้พี่ๆเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆก่อนชิ้นงานอาจเป็นเว็บเชื่อมโยงหรือ Mind Mapping ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ ของสิ่งๆนั้นกับสิ่งอื่น ครูณี ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าอาจเพิ่มทักษะการคิดเพิ่มเติมในกิจกรรมจิตศึกษาด้วยเช่น กิจกรรมข้าวหนึ่งจาน หรือกิจกรรมแปลงร่างเชื่อมโยง ครูดอกไม้จึงนำข้อเสนอแนะมาปรับใช้ในวันศุกร์ โดยให้พี่ๆได้รับโจทย์เดียวกันคือ “ขนมจีน” และนำมาจัดกระทำข้อมูลในรูปแบบของ Ming mapping เชื่อมโยง (เป็นการบ้านเนื่องด้วยในตอนบ่ายวันศุกร์มีกิจกรรมผู้ปกครองอาสา) จากนั้นพี่ๆจึงสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin และจัดกระทำชิ้นงานออกมาในรูปแบบของการเขียนบรรยายที่แสดงถึงความรู้ใหม่ที่ได้ ปัญหาที่พบเจอวิธีการแก้ปัญหารวมทั้งทักษะที่เกิดขึ้นอีกด้วย

    ตอบลบ